วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ จากวิทยากร




นายพันธุ์ธัช ชัยนิวัฒน์กูล (นายดลวัฒน์ วรรณลาด)
รหัส 61410078 กลุ่มที่ 3 เลขที่ 27


วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2562
ความรู้ที่ได้รับจากวิทยากร อ.ดร.ชวลิต เกตุกระทุ่ม

การเลือกใช้รูปแบบของแบบสอบถามเหมาะสมต่อรายวิชา ให้เห็นคำถามที่ชัดเจน ใช่ หรือไม่ใช่ ทำตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ คำถาม การใช้คำศัพท์เฉพาะทางของวิชา การใช้ภาษาอังกฤษ เข้ามา ในข้อสอบ การสร้างข้อสอบที่ถูกต้อง การออกแบบข้อสอบ คำตอบ แบบตัวเลือก แบบเติมคำ การเขียนคำตอบ และการจัดวางข้อสอบและตัวเลือกคำตอบที่เหมาะสม



การประเมินสื่อควรมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน มีจุดประสงค์ มีความชีดเจน ตัวอักษร ข้อความไม่ควรเยอะเกินไป การเลือกใช้พื้นหลัง สี ของสื่อ และภาพประกอบ ในการนำเสนอ ให้สอดคล้องกับเนื้อหา และมีการประเมินสื่อ เป็นตัวเลข



วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.3 5 ข้อ


ทฤษฎีการเรียนรู้ 2 ทฤษฎี



1. ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน
คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว
นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
บทความโดย
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
เอกสารอ้างอิง
ทักษิณ ชินวัตร, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และพรพิไล เลิศวิชา. เด็กไทยใครว่าโง่ เปลี่ยนการเรียนรู้ของเด็กไทยให้ทันโลก. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด ( มหาชน ), 2548.
อารี สัณหฉวี และอุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. 15 สิงหาคม 2548. พหุปัญญา (Online). Available URL: http://www.thaigifted.org Armstrong T. 1994. Multiple intelligence (Online). Available URL: http://www.thomasarmstrong.com/multiple_intelligences.htm
Multiple intelligences (H. Gardner) (Online). Available URL: http://tip.psychology.org/gardner.html

2.ทฤษฎีการเชื่อมต่อ Connectivism

 Siemens  ผู้เสนอทฤษฎี  Connectivism  มีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีอยู่ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิตอล  เมื่อมีการเชื่อมโยงได้อย่างรวดเร็วทำให้ความรู้ที่มีอยู่นั้นอายุสั้นลง  ความรู้ที่ทันสมัยในปัจจุบันกลายเป็นความรู้ที่ล้าสมัยในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตลอดเวลาจึงทำให้เราจำเป็นจะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทฤษฎีการเชื่อมต่อ Connectivism  เป็นทฤษฎีที่เกิดมาจากความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตซึ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ช่วยตอบสนองและเสริมทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีก่อนนี้ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่การเรียนรู้นั้นยังไม่เกิดผลกระทบจากเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้มีการเลื่อนไหลไม่หยุดนิ่งความรู้ต่างๆเกิดขึ้นทุกเวลานาที นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วที่ล้วนกระทบต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของคนเรา อีกทั้งยังเปลี่ยนแปลงทิศทางของการเรียนรู้ด้วย เช่น จากการเรียนรู้ว่าอย่างไร และรู้อะไรเป็นการเรียนรู้ว่าจะหาความรู้ได้ที่ใดการเรียนรู้นอกระบบมีความสำคัญต่อประสบการณ์การเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดขึ้นจากวิธีการหลากหลาย เช่น จากชุมชน จากเครือข่ายบุคคล และจากการทำงานให้สำเร็จ การเรียนรู้ ยังเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต 
การประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีหรือการเรียนการสอน
ความรู้จะถูกเชื่อมโยงอย่างเหมาะสมทั้งทางด้านความรู้ฐานข้อมูล สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม การรับการถ่ายโอนข้อมูล การไหลของข้อมูล เครือข่ายทางสังคมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการเรียนรู้แบบยุคดิจิตอลเช่น การหาข้อมูล ทักษะการทำอาหาร ผู้เรียนสามารถเข้าไปหาข้อมูลเริ่มจากต้องการจะทำอาหารเย็น โดยเริ่มจากสิ่งที่ต้องการค้นหา สามารถเข้าไปค้นหาผ่านทางระบบค้นหาSearch ระบบจะนำพาข้อมูลเว็บไซต์ทั้ง วิดิโอสอนทำอาหาร รูปภาพ พิกัดที่ตั้งแผนที่ร้านอาหารBlogs เว็บสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ใช้ต้องการเรียนรู้วิดีโอการเรียนรู้ สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์Youtube เพื่อดูวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ค้นหา ประกอบกับบริการของ Youtube เป็นบริการแบบการโพสวิดีโอแบบสังคมออนไลน์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่โพส หรือข้อมูลที่ใกล้เคียงจะเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยในบางวิดีโอจะมีการแสดงความคิดเห็นที่ผู้แสดงความคิดเห็นรายอื่นๆ สามารถพิมพ์ข้อความ ลิงค์ที่น่าสนใจ และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทำ ให้ผู้เรียนรู้สามารถคลิกเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมและทำ ความเข้าใจ หรือทำการค้น หาในคำพูด หรือสิ่งที่ผู้แสดงความคิดเห็นแสดงไว้ได้
กรณีศึกษาหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นาวิน  คงรักษา, ปณิตา วรรณพิรุณ (ม.ป.ป.).การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอมเลิร์นนิ่งตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วยวิธีการปริทัศน์ความรู้จากสภาพแวดล้อมจริง. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
วิจารณ์ สงกรานต์.(ม.ป.ป.) การบูรณาการLearningobject กับ Facebook เพื่อการเรียนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง.มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
กวิทธิ์ ศรีสัมฤทธิ์.(ม.ป.ป.) การใช้ระบบประมวลผลก้อนเมฆเพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม.
สรุป การจัดการเรียนรู้แบบ  “Connectivism” เป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งการนำทฤษฎีนี้มาใช้ต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ มากมาย และเป็นองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

งาน Week 3


วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

คำศัพท์ WordCloud


Word Cloud Innovation


คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ
วัตกรรมทางการศึกษาและการศึกษาในศตวรรษที่ 21
1. Innovation หมายถึง การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ให้เกิดประโยชน์และใช้ได้จริง อาจจะเป็นสิ่งที่เคยมีมาแต่ไม่ได้รับความนิยม หรือต่อยอดออกมาใหม่ก็ได้
2. System หมายถึง กระบวนการต่างๆ ซึ่งอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มีความสันพันธ์กัน เชื่อมต่อทำงานร่วมกันเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
3. Output หมายถึง สิ่งที่ถูกส่งออก หรือ ผลผลิตจากกระบวนการ
4. Solving หมายถึง การแก้ไขหรือแก้ปัญหาให้เกิดผลสำเร็จ
5. Computer หมายถึง เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ ซึ่งใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์ประเมินผลและแก้ปัญหาได้มากมาย
6. Technology หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
7. Media หมายถึง วัสดุใดก็ตามที่บันทึก มีความหลากหลาย
8. Resource หมายถึง ทรัพยากร
9. Inspire หมายถึง แรงบันดาลใจ
10. Process หมายถึง กระบวนการ
11. Blog หมายถึง เป็นรูปแบบเว็บไซต์สามารถลงข้อความ รูปภาพ และวีดีโอได้
12. Data หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
13. Vision หมายถึง วิสัยทัศน์ เป้าหมายขององค์กรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
14. Century หมายถึง ศตวรรษ
15. Software หมายถึง โปรแกรมต่างๆ ที่ลงไว้ในคอมพิวเตอร์ มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
16. E-commerce หมายถึง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการผลิต การกระจาย ทางการตลาด บนพื้นฐานของการประมวลผลและการส่งข้อมูลดิจิตอลต่างๆ
17. People ware หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่ทำงานหรือใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อป้อนข้อมูลให้เครื่องทำงานตามที่ต้องการ
18. Input หมายถึง การนำเข้าข้อมูล
19. Intelligence หมายถึง สติปัญญา
20. Information หมายถึง สื่อสารสนเทศ สิ่งเป็นข้อมูลผ่านการประมวลผลแล้ว

21. Storage หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูล
22. Internet network system หมายถึง ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
23. Inventor หมายถึง ผู้ประดิษฐ์คิดค้น
24. Life skill หมายถึง ทักษะชีวิต
25. Child center หมายถึง เป็นทฤษฎีการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
26. Operating system หมายถึง ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดสรรทรัพยากรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ซอฟแวร์ได้ปฏิบัติการ
27. Hardware หมายถึง อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่สามารถมองเห็น สัมผัสได้
28. Literacy หมายถึง ความสามารถในการอ่านและเขียน
29. Secondary storage หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
30. Multiple intelligence หมายถึง พหุปัญญา ความสามารถที่หลากหลาย

31. Integrated หมายถึง การบูรณาการหรือประยุกต์
32. Mental model building หมายถึง การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด
33. Motivation หมายถึง แรงจูงใจ
34. Entrepreneurship หมายถึง ประกอบการ
35. Authentic หมายถึง การเรียนรู้จากชีวิตจริง
36. Influence หมายถึง การสร้างอิทธิพล
37. Creativity หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์

31. Integrated หมายถึง การบูรณาการหรือประยุกต์
32. Mental model building หมายถึง การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด
33. Motivation หมายถึง แรงจูงใจ
34. Entrepreneurship หมายถึง ประกอบการ
35. Authentic หมายถึง การเรียนรู้จากชีวิตจริง
36. Influence หมายถึง การสร้างอิทธิพล
37. Creativity หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เกิดประโยชน์

38. Multimedia หมายถึง โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
39. Interaction หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์
40. Materials หมายถึง วัสดุ
41. Collaborative หมายถึง ทฤษฎีการนำแบบร่วมมือกับคนอื่น
42. Inquiry หมายถึง การสอบถามหาข้อมูลผ่านทางเครื่องปลาทาง
43. Processing หมายถึง กระบวนการท
44. Education หมายถึง การศึกษา
45. Learning by doing หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ
46. Justification หมายถึง การให้หรืออ้างเหตุผล
ที่มาจาก http://tiwat1285.blogspot.com/2014/09/21_14.html

Week2_2 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยี มีความเหมือนต่างกันอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไร

นวัตกรรมคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง กระบวนการของนวัตกรรมมีขั้นตอนอย่างไร


ความหมายของนวัตกรรม
 นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า Innovare แปลว่า “ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา”
  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม คือ “สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”
  โทมัส ฮิวส์Hughes,1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า “เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำแล้ว และมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา”
  สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ(2553) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม หมายถึง “สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักกษณะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม”
  สรุป นวัตกรรม คือ “สิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ”
 องค์ประกอบของนวัตกรรม
  จากประเด็นที่เป็นแก่นหลักสำคัญของคำนิยาม  องค์ประกอบที่เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม มีอยู่ 3 ประการ คือ
1.ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้(Utterback,1971,1994,2004 ; Tushman and Nadler,1986;freeman & Soete,1997;Betje,1998;Herkma,2003;Schilling,2008)
2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้  (Utterback,1971,1994.2004;Drucker,1985,1993;Damanpour,1987;Smits,2002;DTI 2004)
3.  การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์(Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ  การทำซ้ำ เป็นต้น (Evan,1966; Drucker,1985,1993; Rogers,1995; Perez-Bustamante,1999; Smits,2002; Herkema,2003; Lemon and Sahota,2003; DTI,2004; Schilling,2008)
กระบวนการนวัตกรรม
  กระบวนการนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ
1.การค้นหา(Searching)
เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
 2.  การเลือกสรร(Selecting)
เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความาสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
3.  การนำไปปฏิบัติ(Implementing)
เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก ๔ ประการ ดังนี้
3.1 การรับ (Acquring)
  คือ ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา(R&D) , การทำวิจัยทางการตลาด รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น
3.2 การปฏิบัติ(Executing)
  คือ ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ตลอดเวลา
3.3 การนำเสนอ (Launching)
  คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป้ฯระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4 การรักษาสภาพ(Sustaining)
  คือ การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้น ๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถึกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
4.  การเรียนรู้(Learning)
เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่าง ๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข้งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ. นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ วารสารบริหารธุรกิจ.ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2533.

เทคโนโลยีVSนวัตกรรม ความเหมือนและความแตกต่าง


          ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม

คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม

ผลจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการให้คำนิยามของคำว่า นวัตกรรม” พบว่า มีการให้คำนิยามในหลายลักษณะ และหลายแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป ตามพื้นฐานความรู้ และวิชาชีพของนักวิชาการที่ให้คำนิยาม แต่อย่างไรก็ตาม หากได้พิจารณาในประเด็นที่เป็นแก่นหลักสำคัญของคำนิยามต่างๆ แล้ว ผู้เขียนพบว่ามีอยู่ 3 ประเด็นที่เป็นมิติสำคัญของนวัตกรรม ก็คือ
1. ความใหม่ (Newness) สิ่งที่จะได้รับการยอมรับว่า มีคุณลักษณะเป็นนวัตกรรมได้นั้นมิติแรกที่จะต้องมีก็คือ ความใหม่ หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ ที่ ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่ งอาจจะมีลักษณะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิม หรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้
2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) ในมิติประการที่สองที่ถูกกล่าวถึงเสมอในลักษณะของการเป็นนวัตกรรม ก็คือ การให้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะสามารถวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้ 
3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) ในมิติที่สำคัญประการสุดท้ายของการเป็นนวัตกรรม ที่สามารถสรุปได้จากวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้องก็คือ การใช้ความรู้ และ ความคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า สิ่งที่จะถือเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบการทำซ้ำ เป็นต้น






ในทัศนะของผู้เขียน นวัตกรรม” จึงหมายถึง สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งสอดคล้องกับความหมายที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ไว้ว่า นวัตกรรม” คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” ก็น่าจะเป็นบทสรุปที่มีความกระชับและชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตามการให้ความหมายของนวัตกรรมในมุมมองด้านอื่นๆ เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านการจัดการ จะมีบางส่วนที่แตกต่างกันในส่วนย่อย แต่โดยแก่นของความหมายแล้วก็ไม่มีความแตกต่างกันประเภทของนวัตกรรม 
ส่วน "เทคโนโลยี" จะเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มาผสมผสานประยุกต์เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยีนั้นๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

      ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโยีและนวัตกรรม จึงเป็นสิ่งที่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันใน 2 ประเด็น คือ เวลาและสภานที่  หากสิ่งใดที่ถูกใช้ในสถานที่หนึ่งเป็นเวลานานและเกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย มักเรียกสิ่งนั้นว่าเทคโนโลยี  เพราะใช้ประโยชน์สนองความต้องการในที่นั้นเป็นระยะเวลาหนึ่งจนทุกคนในกลุ่มรู้สึกคุ้นเคย  แต่ถ้านำสิ่งนั้นไปใช้ในพื้นที่ใหม่เป็นครั้งแรกเกิดการเรียนรู้ใหม่ มีการต้องแสวงหาการเรียนรู้ภายในกลุ่มและเริ่มยอมรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับก็จะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่านวัตกรรม


Week 2 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยี มีความเหมือนต่างกันอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไร

กระบวนการเกิดนวัตกรรม

การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ

1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน

2. มีการตรวจสอบ หรือทดลอง และปรับปรุงพัฒนา

3. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริงการที่จะพิจารณาว่า สิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ 
ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง   3  ขั้นตอนมาตามที่กล่าวมาแล้ว 
อาทิเช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI) เป็นนวัตกรรม เพราะผ่านกระบวนการ
ครบทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้นขั้นที่สองมีการทดลองใช้และ
พัฒนามาแล้ว และขั้นที่สามมีการน ามาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน 
แต่การโคลนนิ่งมนุษย์ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพราะยังผ่านกระบวนการไม่ครบ 3 ขั้นตอน 
กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการคิดค้นวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมา
ขั้นที่สองผ่านการทดลองปรับปรุงพัฒนาแล้ว แต่ยังไม่ผ่านขั้นที่สามคือยังไม่มีการนำวิธี
การโคลนนิ่งมนุษย์มาใช้ในสถานการณ์จริง เพราะกฎหมายยังไม่ยอมให้มีการโคลนนิ่งมนุษย์  
จึงยังไม่เป็นนวัตกรรม




ความแตกต่างของ“นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี”

“นวัตกรรม”  เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่มี 3 ลักษณะประกอบกันได้แก่
1.  จะต้อง เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่  (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้  (feasible  idea)
2. จะต้อง สามารถนำไปใช้ได้ผลจริง  (practical  application)
3.  มีการเผย แพร่ออกสู่ชุมชน
ส่วนเทคโนโลยี  หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศษสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ความแตกต่างของนวัตกรรมและเทคโนโลยี  นวัตกรรมเป็นการคิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ  หรือทำการปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม  ส่วนเทคโนโลยี  คือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชนืในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ หรือจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์  ผลผลิตจากผลการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งได้แก่นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อย หน่วยเล็กๆเพียงบางส่วน ไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิต ประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการใช้ชีวิตประจำวัน…

PostAuthorIconเขียนโดย Suk Meenuch  ที่มาจาก://jikalok7.wordpress.com/

ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วยและในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ควบคู่กันเสมอ

ยุคของสารสนเทศ ในปัจจุบันนี้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนี่เอง ทำให้การรับรู้ข่าวสาร การสื่อสารกันเป็นไปอย่างรวดเร็วและสะดวก ง่ายมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงได้ทุกมุมโลก จึงไม่แปลกเลยที่ คนในยุคปัจจุบันจะรับรู้ข่าวสาร ติดต่อกันได้แม้ว่าจะอยู่ไกลกันก็ตาม และสิ่งนี้นี่เอง ที่ส่งผลให้ การศึกษาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ความรู้ ความคิดต่างๆ ที่มากขึ้นนี่เองเป็นผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เทคโนโลยีจึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย และยังผลต่อ ถึงสารสนเทศที่พัฒนาต่อเนื่องไปอีกนั่นเอง......

ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html 

ความรู้ที่ได้รับ จากวิทยากร

นายพันธุ์ธัช ชัยนิวัฒน์กูล (นายดลวัฒน์ วรรณลาด) รหัส 61410078 กลุ่มที่ 3 เลขที่ 27 วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2562 ความรู้ที่ได...